ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ของ น.ส.วรัญญา ธรรมนารักษ์ ได้เลยค่ะ

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่ 7 กฎหมายในชีวิตประจำวัน

๑.กฎหมาย
๑.๑ ความหมายของกฎหมาย
ความหมายของกฎหมายนั้น ได้มีนักปรัชญาและนักกฎหมายให้คำนิยามไว้ต่างกันดังตัวอย่าง เช่น
          จอห์น ออสติน (John Austin) ปรัชญาเมธีทางกฎหมายชาวอังกฤษ อธิบายว่า กฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์  ซึ่งบังคับใช้กับกฎหมายทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดไม่ปฎิบัติตาม โดยปกติแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษ
          หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า กฎหมาย คือ กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตามอ่านพิ่มเติม

บทที่ 6รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ความเป็นมาและความสำคัญ

ประเทศเกือบทั้งหมดในโลกย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ ไม่ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือแบบคอมมิวนิสต์ ต่างมีรัฐธรรมนูญตามแบบฉบับของประเทศตนเองทั้งสิ้น สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเคยมีทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่จัดทำขึ้นในขณะที่บ้าน เมืองอยู่ในภาวะไม่สงบ หรือหลังจากมีการปฏิบัติรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยรวมทั้งสองประเภทแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 อ่านเพิ่มเติม

บทที่5 ระบอบการเมืองการปกครอง

ลักษณะการเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ  การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
          ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง

           

บทที่4 สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน
ความหมายของสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน(Human Rights) หมายถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ ในอดีตยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนภายหลังที่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้ว คำว่า สิทธิมนุษยชน จึงได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ในกฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้หลายแห่ง เช่นในอารัมภบท ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของสหประชาชาติไว้ว่า เพื่อเป็นการยืนยันและให้การรับรองถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษยชาติ"
ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน อ่านเพิ่มเติม

บทที่3.พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก

1.การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม
2.การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคลอื่น
3.การมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
5.การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง
6.การมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองกา อ่านเพิ่มเติม

บทที่2.วัฒนธรรมไทย

ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมไทย

ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
1. วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคม 
     วัฒนธรรม ไทยเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทย 
     ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงผลการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการ      สร้างแบบ แผนของสังคมทำให้ความคิด ความเชื่อและค่านิยมของสมาชิก      ให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน อ่านเพิ่มเติม

บทที่1.สังคมมนุษย์

ปัญหาสังคมไทยและแนวทางการแก้ไข

   แม้ว่าสังคมจะมีความร่วมมือปรับเปลี่ยนและแก้ไข เพื่อให้ได้กลไกทางสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น
 แต่บางครั้งบางกรณีอาจเกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งขึ้นทั้งที่เป็นผลมาจากปัจจัยภายในและจากปัจจัย
ภายนอกของสังคม ซึ่งส่งผลให้การทำงานของกลไกทางสังคมไม่เป็นปกติและ
กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นมา อ่านเพิ่มเติม